Accessibility help

เมนูหลัก

โครงการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร
โครงการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชนและ??? ครอบครัว ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ประเภทองค์กร
โครงการภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งไม่แสวงหาประโยชน์

ปรัชญา แนวคิด
เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านสุขภาพ (สุขภาวะ) และสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในกลุ่มเป้าหมายและประเด็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วน และนำความรู้ที่ได้ไปสร้างความเคลื่อนไหวด้านวิชาการและสังคมผ่านเครือข่าย กลไก และกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปสู่?? ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กฎหมาย มาตรการ หรือแนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและพัฒนาความรู้ในด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในกลุ่มเป้าหมายและประเด็นปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วน รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กฎหมาย หรือแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
?2. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชน และ??? ครอบครัว? โดยเฉพาะเครือข่ายด้านวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การจัดเวทีนโยบายสาธารณะเสนอ ความรู้ที่ได้จากการศึกษา เพื่อมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
?3. เพื่อสนับสนุนให้สร้างระบบเฝ้าระวัง? และการศึกษาตรวจสอบสถานที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิของเด็ก เยาวชน และกระทบต่อสุขภาพ (สุขภาวะ) ของเด็กและเยาวชน ได้แก่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เรือนจำ ทัณฑสถาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานสงเคราะห์เด็ก
?4. เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาตรวจสอบหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี
?5. เพื่อสนับสนุนให้เกิดกลไกสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพิทักษ์สิทธิของตน
6. เพื่อให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ความรู้ ไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย? กฎหมาย? หรือแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา

วันเดือนปีที่ก่อตั้ง
โครงการระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 - 31 กรกฎาคม 2548??
โครงการระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 - 31 ตุลาคม 2549

ความเป็นมา
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ? สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองสุขภาพและ????????? สิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงกลไกส่งเสริมและเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ? และสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชนและ??? ครอบครัวในลักษณะ R&D, D&R ให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ และเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางวิชาการและสังคม และการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายต่อไป ซึ่งได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญในการทำงาน
ประเด็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่โครงการดำเนินการมี 7 เรื่อง คือ 1) เด็กในกระบวนการยุติธรรม 2) ความรุนแรงในเด็ก 3) แรงงานเด็ก 4) เด็กไร้รัฐ 5) การสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบติเหตุในเด็ก 6) เด็กกับสื่อ 7) การปฏิบัติตาม พันธกรณีตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ความเชี่ยวชาญ
ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ดำเนินงาน รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการขับเคลื่อนด้านวิชาการและสังคมในเรื่องเหล่านั้น

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วย
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา ภาคประชาสังคม องค์การเอกชน สถาบัน??? วิชาการ เด็กและเยาวชน

งานที่ดำเนินการ

ดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. ชุดโครงการวิจัย ?เด็กในกระบวนการยุติธรรม? ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อศึกษาวิจัย คือ
-?โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพื่อเด็กและเยาวชน และการคืนเด็กสู่สังคม: แนวคิดและรูปแบบการดำเนินงานของไทย และนานาประเทศ
-?โครงการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์องค์ความรู้ สถานการณ์และกลไกเฝ้าระวัง และคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน ในกระบวนการยุติธรรม
-?โครงการวิจัยเรื่อง การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม
-?โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานการณ์และกลไกการเฝ้าระวัง และคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
-?โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานการณ์และกลไก? การเฝ้าระวังและคุ้มครองสิทธิเด็กต่างด้าว/ เข้าเมืองผิดกฎหมาย ในกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตรวจคน เข้าเมือง (ตม.)
-?โครงการวิจัยเรื่อง สถานการณ์ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ และเด็กติดผู้ต้องขังใน เรือนจำ/ทัณฑสถานของประเทศไทย
2. โครงการวิจัย ?ผลกระทบของความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของเด็ก เยาวชนและครอบครัวในสังคมไทย: การตรวจสอบปัญหาและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา? หรือเรียกโดยย่อว่า????? โครงการเด็กไร้รัฐ
3. โครงการวิจัย ?การศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการและวิธีการตรวจสอบสถานที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน และกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน?
4. โครงการวิจัย ?โครงการวิจัยและพัฒนาสื่อในสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะและสิทธิมนุษยชนของเด็ก เยาวชนและครอบครัว? หรือเรียกโดยย่อว่า ?โครงการเด็กกับสื่อ?
5. โครงการวิจัย ?การศึกษาการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของ??????? สหประชาชาติ เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย?
6. โครงการวิจัย ?การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กแบบยั่งยืน?
7. โครงการวิจัย ?แนวทางในการคุ้มครองช่วยเหลือพัฒนาสภาพแรงงานเด็กในประเทศไทย?
8. โครงการวิจัย ?การศึกษาสถานการณ์และกลไกเฝ้าระวังและคุ้มครองสิทธิเด็กในสถานสงเคราะห์เด็ก?
9. โครงการ ?สำรวจภาวะความรุนแรงในโรงเรียนทั่วประเทศ?
10. โครงการ ?การศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและ ครอบครัว
11. โครงการ ?การศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว: เพื่อแนวทางป้องกันความรุนแรง
12. โครงการ "การศึกษาความคุ้มครองเด็กภายใต้การปฏิบัติงานสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2542"
ทั้งนี้ โครงการได้นำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยที่ได้มาเคลื่อนไหวทางวิชาการและสังคมต่อไป และในบางกรณี ก็ได้มีการนำเด็กและเยาวชนมาร่วมแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมใน?? กระบวนการด้วย

แหล่งทุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน
การบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ที่มีโครงการย่อยหลายโครงการรวมอยู่ การจัดการเชิงบูรณาการมีผลต่อความสำเร็จของโครงการ โดยการให้บุคคลที่เข้าร่วมในโครงการทั้งหมด???? ทั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการ คณะบริหารจัดการ คณะศึกษาวิจัย คณะสื่อสารสาธารณะ คณะการมีส่วนร่วมของเด็ก คณะประเมินผลภายใน ทำงานอย่างเป็นองค์รวม เข้าใจเป้าหมายและวิธีการทำงานร่วมกัน นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ความรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ และความรู้ที่ได้รับจากการสร้างช่องทางสื่อสาร 2 ทาง (two-ways communication) ระหว่างโครงการฯ กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านนโยบายและปฏิบัติ รวมถึงเด็กและเยาวชน ในฐานะองค์ประธาน (subject) ของความรู้ นำมาสังเคราะห์และจัดการ เพื่อให้ได้??????????? ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หรือแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง (relevant)

?
การติดต่อ?
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ?เลขที่ 1168 ซอยพหลโยธิน 22 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กท.10900?

02-219 2958

? 02-219 3570
เว็บไซต์ www.thaichildrenright.net

ผู้ประสานงานองค์กร

(1)นายแพทย์ชูชัย?ศุภวงศ์?
ตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการ

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ?เลขที่ 1168 ซอยพหลโยธิน 22 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กท.10900?

02-219 2958

? 02-219 3570
เว็บไซต์ www.thaichildrenright.net



(2) นางสาว? อัจฉรา? ฉายากุล
ตำแหน่ง ผู้ประสานงานโครงการ

?เลขที่ 140/30 หมู่ที่? 6 ตรอก/ ซอย พหลโยธิน 54/2 ถนน พหลโยธิน แขวง/ตำบล???? สายไหม เขต/ อำเภอ สายไหม จังหวัด กท. รหัสไปรษณีย์ 10200

02-219 2954

09-232 5658

?02-219 2954

เว็บไซต์ www.thaichildrenright.net

?


เอกสารเผยแพร่?
1. หนังสือ
-?บนเส้นทางแห่งความหวัง : ถอดบทเรียนบ้านกาญจนาภิเษก
-?สรุปผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานการณ์และกลไกการเฝ้าระวังและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
-?รายงานการเฝ้าระวังและตรวจเยี่ยมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในเชิงกัลยาณมิตร
-?กระบวนการทำงานแบบมีชีวิตชีวา : การถอดบทเรียนและประสบการณ์เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสหวิชาชีพ และสงขลาประชาคมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา
-?คืนพลังให้เยาวชนที่ก้าวพลาด : บันทึกเวทีนโยบายสาธารณะว่าด้วย ?เด็กในสถานพินิจและและเยาวชน?
2. วารสาร
-?เด็กโพสต์
-?โลกใบเยาว์ ฉบับ เปิดโลกสถานพินิจ
-?โลกใบเยาว์ ฉบับ เปิดโลกแรงงานเด็ก

ข้อมูลอื่นๆ

-?fact sheet เรื่อง กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
-?fact sheet เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในประเทศไทย : การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน
-?DVD เรื่อง เด็กในกระบวนการยุติธรรม : ร่วมกันเปิดใจให้โอกาสเด็กที่ก้าวพลาด

วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล
ตุลาคม 2549