Accessibility help

เมนูหลัก

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม
? สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน

ประเภท
?เป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี(2548-2551) ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ?

วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการนี้ดำเนินกิจกรรมการศึกษาและการเฝ้าระวังสื่อ การรายงานผลของการศึกษาต่อสาธารณะผ่านสื่อมวลชน การกระจายแนวคิดสู่เครือข่ายพันธมิตรและสังคม และเป้าหมายสุดท้ายหลังจบระยะเวลาทำงานของโครงการคือ การจัดตั้งองค์กรพัฒนาและเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งทำหน้าที่
1.?ให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ต่อการนำเสนอเนื้อหาของสื่อ เพื่อยกระดับการทำหน้าที่ของสื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
2.?เสริมสร้างข้อกำหนดจริยธรรม หรือแนวทางการนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะของสื่ออย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม?
3.?ยกระดับความเข้าใจด้านสื่อ (media literacy) และสร้างค่านิยมที่เหมาะสมของประชาชน
4.?ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยในเชิงวิชาการของนักวิชาการและนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์ เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ
5.?เป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการข้อมูลเพื่อค้นหาสื่อและผลงานการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อ (media monitor)

วันเดือนปีที่ก่อตั้ง
?วันที่ 1 เมษายน 2548

ความเป็นมา
ที่ผ่านมา การเฝ้าระวังสื่อในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบในการดำเนินการที่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพียงกิจกรรมเพื่อเสริมเป้าหมายการดำเนินงานหลักขององค์กรต่างๆ เช่น องค์กรด้านสตรี โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลา จึงยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและไม่สามารถพัฒนาวิธีวิทยา (methodology) ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลให้ก้าวหน้าไป การเฝ้าระวังสื่อที่มีการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องภายใต้กรอบทางวิชาการที่ชัดเจนจึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบสื่อ?

ประเด็นสำคัญในการทำงาน
1.?การพัฒนาวิธีการเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ
2.?การเฝ้าระวังสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะโทรทัศน์ (เน้นฟรีทีวี) หนังสือพิมพ์ (เน้นหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ) และวิทยุ
3.?การรายงานต่อสังคมถึงผลการเฝ้าระวังสื่อ โดยออกรายงานในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ประจำไตรมาส
4.?การจัดกิจกรรมต่างๆ กับหน่วยงานเครือข่าย เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตื่นตัวและสร้างความเข้าใจเรื่องสื่อ (media literacy) ของภาคประชาชน
5.?การให้บริการข้อมูลแก่ผู้สนใจ เพื่อการศึกษาและวิจัยด้านนิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์?

ความเชี่ยวชาญ
พัฒนาวิธีการเฝ้าระวังสื่อ,ให้บริการข้อมูลเนื้อหารายการโทรทัศน์ Free TV ที่บันทึกไว้, รายงานเกี่ยวกับผลการศึกษาและเฝ้าระวัง ประมาณ 10 เรื่อง

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วย
-?สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
-?สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
-?สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
-?คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปสื่อ วุฒิสภา
-?คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
-?มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
-?กรมประชาสัมพันธ์
-?โครงการเฝ้าระวังสื่ออื่นๆ ที่มีอยู่ หรือโครงการด้านสื่อต่างๆ ของภาคประชาชน
-? องค์กรด้านเด็กและเยาวชน
-? องค์กรด้านผู้หญิง
-?องค์กรด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
-?กระทรวงวัฒนธรรม
-?กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-?กระทรวงศึกษาธิการ

งานที่ดำเนินการ
รอบที่ 1 รายการละครในช่วงเวลาเด็กเยาวชนและครอบครัวทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี
เดือนสิงหาคม 2548

รอบที่ 2 ?ภาพตัวแทนและความสมดุลในรายการข่าวโทรทัศน์กับบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย? เดือนกันยายน 2548

รอบที่ 3 เรื่อง ?รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก? 5-11มกราคม 2549

รอบที่ 4 ?รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ ฟรีทีวี: กรณีการชุมนุมของประชาชน 11กุมภาฯ?

รอบที่ 5 ?การรายงานข่าวเหตุการณ์การเมืองของสื่อโทรทัศน์ในวันที่ 4,11 และ 26 กุมภาฯ 49?

รอบที่ 6 ?จับตาดูSMSการเมือง: ในรายการข่าว/วิเคราะห์ข่าววันที่ 21-27 มีนาคม 2549?

รอบที่ 7 ?จับตาข่าวการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549? ทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 2-3 เมษายน 2549

รอบที่ 8 จับตาข่าวการเลือกตั้งส.ว.19 เมษายน/ (ซ่อม) ส.ส. 23 เมษายน 2549ทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 19-20/23-24 เมษายน 2549

รอบที่ 9 ?ฟุตบอลโลก 2006: การพนัน, แอลกอฮอล์และการชิงโชคกับบทบาทของสื่อไทย? (วันที่ 9-15 มิถุนายน 2549)

รอบที่ 10 ?รายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์? วันที่ 22 กรกฎาคม ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2549

แหล่งทุน
?มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ผลงานที่ภาคภูมิใจ
ทุกรอบการทำงาน

สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน
การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสื่อต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงาน องค์กรวิชาชีพและองค์กรเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สถาบันการศึกษา องค์กรภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องโดยเห็นว่าเป็นภารกิจร่วมกันในการสร้างคุณค่าและศักยภาพ? ของทั้งฝ่ายผู้ผลิตสื่อและประชาชนผู้รับสื่อ

การติดต่อ
โครงการ ?ศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม?

?693 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

0-2621-7814-5

0-2621-7816
www.mediamonitor.in.th

ผู้เชี่ยวชาญในองค์กร?
?? (1)? พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล

? ?สถาบันราชานุกูล ต.ดินแดง กทม. 10400

? (2)?? ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

? 99/100 แขวงลาดยาว ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

? (3)?? อ.ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี

??380/319 ซ.สันนิบาตเทศบาล แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ลาดยาว กทม

? (4) รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์

? ?3637 หมู่บ้านลาดพร้าว โยธินพัฒนา คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

? (5)??ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล

???150/38 ซ.สวนผัก 2 ถ.สวนผัก ตลิ่งชัน กทม. 10170
?
(6)? ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

?565 ซอยรามคำแหง 39 เทพลีลา 1 เขตวังทองหลาง กทม
?
(7) รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

?55/41 ถ.พญาไท แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ เอกสารเผยแพร่
http://www.mediamonitor.in.th

องค์กรเครือข่าย
-?สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
-?สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
-?สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
-?คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปสื่อ วุฒิสภา
-?คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
-?มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
-?กรมประชาสัมพันธ์
-?โครงการเฝ้าระวังสื่ออื่นๆ ที่มีอยู่ หรือโครงการด้านสื่อต่างๆ ของภาคประชาชน
-? องค์กรด้านเด็กและเยาวชน
-? องค์กรด้านผู้หญิง
-?องค์กรด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
-?กระทรวงวัฒนธรรม
-?กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-?กระทรวงศึกษาธิการ

วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล
17 ตุลาคม พ.ศ. 2549