Accessibility help

เมนูหลัก

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

? ? ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ประเภทองค์กร
องค์กรพัฒนาเอกชน

ปรัชญา แนวคิด
?เพื่อสร้างสังคมไทยให้ปลอดบุหรี่

วัตถุประสงค์
1.?เพื่อสร้างค่านิยมที่ไม่สูบบุหรี่
2.?เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากพิษภัยของการสูบบุหรี่
3.?เพื่อสร้างความตื่นตัวและแรงจูงใจแก่ผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
4.?เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
5.?เพื่อพัฒนาให้เกิดมาตรการทางสังคมและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการสูบบุหรี่

วันเดือนปีที่ก่อตั้ง
?พ.ศ.? 2529

ความเป็นมา
??? ในปี พ.ศ.? 2523? องค์การอนามัยโลกประกาศเป็นปีแห่งการไม่สูบบุหรี่? และนำมาสู่ความตื่นตัวในการแสวงหาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพกันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ศ.นพ.ประเวศ? วะสี? รองประธานมูลนิธิหมอชาวบ้านในขณะนั้น? ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับหน่วยงานนี้ในต่างประเทศโดยตลอด? จึงรับรู้ข้อมูล เรื่องพิษภัยจากบุหรี่ที่มีการศึกษาในหลาย ๆ? ประเทศ? ซึ่งแสดงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน? คือ? บุหรี่ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยและเสียชีวิตมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ? ขณะเดียวกัน? ด้วยระยะเวลาอันยาวนานถึง? 20- 30? ปี? กว่าที่อาการของโรคภัยไข้เจ็บจะปรากฏ ทำให้ความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพถูกละเลย? ไม่ได้รับการใส่ใจจริงจังมาโดยตลอด
??? ในปี พ.ศ. 2528? ศ.นพ.ประเวศ? จึงได้พูดคุยกับกลุ่มคนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุขว่า?อยากให้ช่วยกันรณรงค์ให้คนไทยลดการสูบบุหรี่ลง?และสร้างค่านิยมที่ไม่สูบบุหรี่แก่คนรุ่นใหม่?การปรึกษาหารือร่วมกัน และเห็นพ้องกันว่า?ต้องมีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง?จึงมีการมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข?หรือ?คปอส.?ศึกษา?รวบรวมข้อมูล?และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ?เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานขึ้น
???
ด้วยความร่วมมือของบุคคลและองค์กรที่สนใจ?มีการยกร่าง?จัดทำโครงงาน?กิจกรรม?และจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา?? โดยเชิญ ศ.นพ.ประเวศ?วะสี?เป็นประธาน?ศ.นพ.อรรถสิทธิ์?เวชชาชีวะ?อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล?ซึ่งเคยร่วมงานด้านวิชาการและพัฒนาวงการแพทย์ร่วมกับ ศ.นพ.ประเวศ?มานาน?เป็นรองประธาน?และยังมีแพทย์รุ่นใหม่ที่ต้องการเห็นการเคลื่อนไหวเชิงรุกในการรณรงค์ปัญหาบุหรี่อีก?2?ท่าน?คือ?ศ.นพ.ประกิต?วาทีสาธกกิจ?อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด?และ ผศ.นพ.ไพบูลย์?สุริยะวงศ์ไพศาล?แพทย์ที่สนใจมิติทางสังคมวัฒนธรรมร่วมเป็นกรรมการ?โดยมี?นางสาวบังอร?ฤทธิภักดี?เป็นเจ้าหน้าที่ประจำโครงการเต็มเวลาเป็นคนแรก
??? หลังจากที่มีการหารือในที่ประชุมอย่างกว้างขวาง?ชื่อ??โครงการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่? ที่มีการเสนอสู่ที่ประชุมในครั้งแรก ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนเสียใหม่เป็น??โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่??เพื่อนำเสนอความรู้สึกในเชิงบวก?หลีกเลี่ยงปฏิกิริยาต่อต้านจากสังคมบางส่วน?
??? แนวทางการรณรงค์เชิงบวกนี้?ได้ถูกยึดเป็นแนวทางหลักของโครงการรณรงค์ฯ?ตลอดปีที่ผ่านมา?และเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้กระแสการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ได้รับการขานรับจากสังคม

หลักการของมูลนิธิรณรงค์ฯ
??? ผู้ก่อตั้งได้ร่วมกันกำหนดหลักการของมูลนิธิรณรงค์ฯ ขึ้น?3?ข้อ?คือ
?? ?1. มีความต่อเนื่อง
?? ?2.?มีข้อมูลวิชาการรองรับอย่างจริงจัง
?? ?3.?มีแผนงานรองรับอย่างเป็นระบบ
??? ซึ่งมูลนิธิรณรงค์ฯ จะต้องมีการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย? 3? อันดับแรก เพื่อให้ร่วมกันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง คือ?
??? 1.สื่อมวลชน?
??? 2. ผู้มีอำนาจตัดสินใจในภาครัฐ??
??? 3.โรงเรียน

??? ในปี พ.ศ. 2529? จึงได้กำเนิดผลงานชิ้นแรกเริ่มประเดิมโครงการในรูปของสื่อรณรงค์?2?ชิ้น?คือ?การจัดพิมพ์สติกเกอร์ ?เขตปลอดบุหรี่??และจัดทำสไลด์ชุด ?คนกับบุหรี่??โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสโมสรโรตารี่ดุสิต?และผลปรากฎว่าสื่อทั้งสองชิ้นได้รับความสนใจเป็นอย่างดี?เขตปลอดบุหรี่กลายเป็นสื่อหลักที่ใช้ในการรณรงค์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการผลิตเพื่อเผยแพร่จำนวนหลายแสนแผ่น?และสไลด์ชุดแรกนี้ได้ทำสำเนาเผยแพร่ออกไปมากกว่า?500?ชุด
??? สื่อมวลชน?ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกได้ให้ความสำคัญและความคาดหวังกับการเริ่มต้นของโครงการรณรงค์ฯ?อย่างกว้างขวาง?เช่น??ซูม??คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ?และสนิทสุดา?เอกชัย?จากหน้าสารคดี??เอาท์ลุค??ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์?ต่างก็แสดงความเชื่อมั่นไว้ในข้อเขียนของตนว่า?การเริ่มต้นครั้งนี้จะไม่เป็นเหมือนดั่ง ?ไฟไหม้ฟาง?
??? ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2530?การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เริ่มขยายผลกว้างไกลออกไปยิ่งขึ้น?เมื่อโครงการรณรงค์ฯ?ร่วมกับชมรมแพทย์ชนบท?ซึ่งมี?น.พ.ชูชัย?ศุภวงศ์?เป็นประธานชมรมในขณะนั้น?จัดงานวิ่งรณรงค์จากทุกภาคของประเทศมุ่งสู่กรุงเทพมหานคร?โดยวางเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่พร้อมกับล่ารายชื่อแสดงประชามติเห็นด้วยกับการไม่สูบบุหรี่
??? รายชื่อที่นักวิ่งรณรงค์รวบรวมได้?5,900,000? คน?ได้ถูกมอบสู่มือ ฯพณฯ ชวน?หลีกภัย?ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น?เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าคนไทยต้องการกฎหมายควบคุมการสูบบุหรี่และกฎหมาย ที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพคนส่วนรวมจากควันบุหรี่ โดยในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในเรื่องดังกล่าว?มีเพียงแต่ข้อบัญญัติห้ามสูบบุหรี่ในโรงภาพยนตร์และรถโดยสารประจำทางเท่านั้น
??? ท่าทีของรัฐบาลต่อเรื่องของบุหรี่ในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มไปด้วยความสับสนยิ่ง?ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ?ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2531?รัฐบาลได้มีนโยบายขัดแย้งกัน?โดยในทางหนึ่งให้กระทรวงสาธารณสุขไปจัดทำร่างแผนงานควบคุมการบริโภคยาสูบ?ขณะที่อีกทางหนึ่งได้อนุมัติให้มีการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานผลิตยาสูบเพิ่มขึ้น
???
ในปี พ.ศ. 2532 กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของบุหรี่ในบ้านเราทวีความเข้มข้นสูงขึ้น?เมื่อสหรัฐอเมริกาแสดงท่าทีเด็ดเดี่ยวว่าต้องการ ?ง้าง??ตลาดบุหรี่ที่ไทยเคยปิดตายสำหรับบุหรี่นอกตลอดมา?โดยการยื่นคำขาดให้รัฐบาลไทยยินยอมให้บุหรี่จากต่างประเทศเข้ามาวางขายในเมืองไทยได้อย่างถูกกฎหมาย
??? เหตุการณ์ในครั้งนี้ นำไปสู่จุดหักเหสำคัญของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่?เพราะกลายเป็น ?ปัญหาที่นำไปสู่โอกาส??ทำให้เกิดการรวมตัวระหว่างฝ่ายต่างๆ?ที่ห่วงใยต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น?ทั้งจากองค์กรในและนอกประเทศ? โดยมีโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่?ซึ่งในขณะนั้นมี?ศ.นพ.ประกิต?วาทีสาธกกิจ?เลขาธิการฯ ร่วมเป็นหนึ่งในแกนหลัก
??? สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รูปธรรมที่ไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากพิษภัยบุหรี่ถูกสะท้อนให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น? ส่งผลให้สื่อมวลชนหันมาให้ความสำคัญกับการเสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่?และกดดันให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายมาเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดบุหรี่ในประเทศโดยเร็ว?
??? ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความตื่นตัวในเรื่องของบุหรี่ในระดับการเมืองเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และในที่สุดรัฐบาลก็ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ถือเป็นนโยบายข้อหนึ่งของรัฐบาล
??? และในปี พ.ศ. 2535 ประเทศไทย จึงได้มี??พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ??และ ?พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่? ในช่วงรัฐบาลของ ฯพณฯ อานันท์?ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี?ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการทำงานอย่างหนักของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในครั้งที่ไทยถูกบีบให้เปิดตลาดบุหรี่นอกในปี พ.ศ.2532?นั้นเอง

เคล็ดลับเบื้องหลังความสำเร็จ ?ไม่ยึดติด? ไม่หยุดนิ่ง?
??? หลังวิกฤติการณ์ผ่านพ้น?ความเคลื่อนไหวของโครงการรณรงค์ฯ?ได้ปรับเปลี่ยนจากการผลักดันนโยบาย?ซึ่งได้คลี่คลายออกมาเป็นกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว?มาเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลแบบ ?ซึมลึก? ทั้งในการเสริมสร้างค่านิยมใหม่ให้คนทุกวัยห่างไกลจากการสูบบุหรี่?และการสร้างเครือข่ายและขยายแนวร่วมในการรณรงค์ นับจากปี พ.ศ. 2536?เป็นต้นมา?กลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นใหม่ให้มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น?เป็น?6?กลุ่ม?คือ?เด็ก?เยาวชน?ผู้หญิง?พระภิกษุ?สำนักงาน?และคนที่อยากเลิกสูบบุหรี่?โดยเนื้อหาในการรณรงค์ ลักษณะกิจกรรม?และสื่อที่ใช้แตกต่างกันออกไป
??? อย่างไรก็ตาม?ใน?6?กลุ่มนี้?เด็กและเยาวชนถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญอันดับแรกสุดของโครงการรณรงค์ฯ?เพราะถือว่าการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มจะช่วยสกัดกั้นปัญหาอื่นๆ?ที่จะเกิดตามมาอย่างได้ผลที่สุด?ในการดำเนินงานนั้น?ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ?โครงการรณรงค์ฯ?จึงพุ่งเป้าไปที่การรณรงค์ฯ ทางสื่อสารมวลชนเป็นหลัก?ทำให้กิจกรรมของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในช่วงที่ผ่านมีลักษณะเฉพาะคือ?จะเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับกระแสสังคมและไม่ยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตายตัว?เช่น?การจัดกิจกรรมที่เข้ากับวาระพิเศษต่าง ๆ?ได้แก่ วันพ่อ?วันเด็ก? วันวาเลนไทน์?จัดประกวดงานศิลปะ?แข่งขันเต้นแอโรบิค?ฯลฯ?ภายใต้เนื้อหารณรงค์เชิญชวนให้ทุกคนห่างไกลจากบุหรี่
ด้วยความเป็นองค์กรที่ปลอดผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจ?จึงมีดาราหรือคนดังขวัญใจวัยรุ่น?อาสามาเป็นตัวแทนในการสื่อ? ?สาร??ที่ต้องการจะก่อให้เป็นกระแสค่านิยมใหม่ทั้งในรูปของนายแบบ?นางแบบโปสเตอร์?การให้สัมภาษณ์เผยแพร่แก่สื่อมวลชนต่าง ๆ?โดยในช่วง?10?ปีที่ผ่านมา?มีบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของประชาชน อาสาเข้ามาช่วยโครงการรณรงค์มากกว่า?40?คน?รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ทนทุกข์ทรมานจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่?มาช่วยกันย้ำเตือนสังคมให้ตระหนักถึงอันตรายของการสูบบุหรี่?โดยที่หลายต่อหลายรายเป็นบุคคลมีชื่อเสียง?และมีศรัทธาสละเวลาและแรงกายมาร่วมในกิจกรรมต่างๆ?สม่ำเสมอ?เช่น?คุณดอกดิน?กัญญามาลย์,?คุณส.อาสนจินดา?ผู้ล่วงลับ และอีกมากมายหลายคนซึ่งส่วนหนึ่งเหลืออยู่เพียงชื่อในวันนี้
??? ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการรณรงค์ฯ?เรื่องของการผลิตสื่อที่มีศักยภาพเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญมาโดยตลอด และสื่อในรูปแบบต่างๆ?ได้จัดส่งไปยังสื่อมวลชนแขนงต่างๆ?ซึ่งถือเป็นช่องทางที่สำคัญการการส่งสารไปยังสังคม?โดยที่มูลนิธิรณรงค์ฯ จะมีการสำรวจความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาถึงช่องทางสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล
ทุกวันนี้?สื่อและข่าวสารของโครงการรณรงค์ฯ?จะถูกส่งไปยังสื่อมวลชนครั้งละ 500?600?ราย?โดยจะเป็นการส่งแบบเฉพาะเจาะจงตัวผู้รับเกือบทั้งหมด
??? สิ่งที่ค้นพบจากการทำงานมานานหนึ่งทศวรรษของโครงการรณรงค์ฯ?ก็คือ?สื่อมวลชนและครอบครัวเป็นเครือข่ายสำคัญที่ทำให้งานรณรงค์ขยายขอบข่ายไปอย่างกว้างขวาง
??? ขณะเดียวกัน ก็พบว่า การรณรงค์กับเด็กเป็นส่วนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด?และเป็นส่วนที่ได้ประโยชน์สองต่อ?คือนอกจากจะสัมพันธ์กับการทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเลิกสูบบุหรี่สำเร็จมามากต่อมากแล้ว?ยังมีผลโดยตรงกับพฤติกรรมของเด็กกับการสูบบุหรี่ในอนาคต?เมื่อเติบโตขึ้นอีกด้วย
??? ด้วยแรงบันดาลใจและความมั่นใจจากการสนองตอบอย่างท่วมท้นจากเด็ก ๆ?ต่อการรณรงค์ในช่วงแรก?โครงการรณรงค์ฯ?จึงมีกิจกรรมในระยะช่วงปีหลังที่คิดค้นเพื่อกลุ่มเป้าหมายสำคัญนี้เป็นการเฉพาะหลายโครงการ?ไม่ว่าจะเป็น??โครงการเด็กคือดวงใจ??ซึ่งมุ่งผลิตสื่อหลากหลายที่มีเป้าหมายร่วมกันคือให้ทุกฝ่ายคืนสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่แก่เด็กๆ?โครงการ ?ครอบครัวปลอดบุหรี่? ?คนรุ่นใหม่ไม่สนใจบุหรี่??และ ?ชมรมเยาวชนปอดสะอาด??ที่มีสมาชิก 18,000? คน?หลังเริ่มโครงการเพียง?3?ปี

ผลักดันการรณรงค์ในระดับนโยบาย
??? ภารกิจอีกด้านหนึ่งที่กระทำต่อเนื่องควบคู่กับงานรณรงค์กับกลุ่มเป้าหมายก็คือ?การเสนอแนะและท้วงติงนโยบายของรัฐบาลชุดต่างๆ?ที่ผ่านมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของบุหรี่?เริ่มต้นตั้งแต่การรณรงค์ในช่วงแรก?ระหว่างปี พ.ศ.2529-2533?ซึ่งมีการรณรงค์คัดค้านการขยายโรงงานยาสูบ?เสนอให้รัฐบาลออกกฏหมายห้ามการโฆษณาบุหรี่?รณรงค์คัดค้านการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศ?และที่ยืนยันตลอดมาในระยะหลังๆ?ก็คือ?ขอให้มีการเพิ่มราคาขายบุหรี่ให้สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างเหมาะสมตามสภาวะเงินเฟ้อ?โดยการขึ้นภาษีบุหรี่ เนื่องจากหลักฐานการวิจัยพบว่าจะมีผลเกี่ยวเนื่องให้วัยรุ่นที่จะเริ่มเข้ามาสูบบุหรี่มีจำนวนน้อยลง เพราะวัยรุ่นเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง
??? การผลักดันเรื่องมาตรการภาษี?ซึ่งโครงการรณรงค์ฯ?กระทำมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ.2530?ประสบความสำเร็จ?โดยรัฐบาลนำมาปฏิบัติเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2537

สะท้อนปัญหาจากบทเรียน
??? ปัญหาหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ?บทบาทจากภาครัฐในการรณรงค์ด้านการดำเนินการ หากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการสูบบุหรี่ ได้มีการประสานงานกับองค์กรเอกชนอย่างใกล้ชิดแล้ว?จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำให้คนสูบบุหรี่ลดลงได้มาก?โดยรัฐเน้นทำในสิ่งที่องค์กรเอกชนทำไม่ได้?ในขณะที่องค์กรเอกชนทำในสิ่งที่ระบบราชการทำไม่ค่อยได้?ถ้าทำได้เช่นนี้จะบังเกิดผลงานสูงสุด
??? งานที่กระทรวงสาธารณสุขควรเน้นคือการดูแลบังคับใช้กฎหมาย?การประสานงานและสนับสนุนให้หน่วยงานอื่นๆ?ทำกิจกรรมต่างๆ?การกำหนดนโยบายที่ก้าวหน้ายิ่งๆ?ขึ้น และสนับสนุนองค์กรเอกชนในเรื่องการทำกิจกรรมและการรณรงค์

ปัญหาด้านงบประมาณ
??? ตั้งแต่เริ่มโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่?ดำเนินโครงการโดยการสนับสนุนจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน ซึ่งเป็นองค์กรเล็กๆ?แม้ในช่วงระยะ?4?ปีหลัง การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานเป็นเงินจำนวน?ปีละ?1?ล้านบาท? และมีการเสนอโครงการรายปีของบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข?ที่ประกาศแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งให้แก่โครงการที่องค์กรพัฒนาเอกชนเสนอเข้ามาให้พิจารณา?หรือที่เรียกกันสั้นๆ?ว่า ?งบเอ็นจีโอ??ซึ่งงบประมาณมีน้อยเกินกว่าจะช่วยสนับสนุนงานขององค์กรต่างๆ?ให้เติบโตขึ้นได้?อีกทั้งยังมีขั้นตอนที่เกี่ยวเนื่องมากมาย?และบางปีก็ไม่ได้รับการจัดสรร?ทำให้ไม่มีความสม่ำเสมอ?โครงการหลายๆ?อย่างที่วางไว้ต้องปรับให้แคบลงอยู่เสมอ?เพื่อให้เข้ากับงบประมาณที่มีอยู่?สื่อบางชิ้นที่ผลิตขึ้นทำได้เพียงจำนวนจำกัด?จนไม่มีโอกาสได้นำไปเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง?หรือไม่สามารถผลิตจำนวนมากพอที่จะใช้ให้เกิดผลเต็มที่ได้ มีสื่อรณรงค์หลายชิ้นที่ได้รับการคิดค้น?สร้างสรรค์?โดยความร่วมมือของครีเอทีฟมือหนึ่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากไม่งบประมาณ ที่จะนำมาผลิต
ขณะที่การดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชนในต่างประเทศจะอาศัยเงินจากการสนับสนุนของสาธารณชนทั่วไปเป็นหลัก?แต่สำหรับประเทศไทยสภาพดังกล่าวยังห่างไกลเฉพาะกรณีของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เอง มีรายได้จากการบริจาคของประชาชนเพียงร้อยละ?10?ของงบประมาณทั้งหมดเท่านั้น?โดยผู้บริจาคส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
??? และปีที่?11?วันที่ 11 เดือนกันยายน?พ.ศ.?2539?โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่?ตัดสินใจก้าวออกจากร่มของ ?มูลนิธิหมอชาวบ้าน??เพื่อเติบโตสู่??มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่??อย่างเต็มตัว (22 มกราคม?2540)
??? จากบทเรียนที่ผ่านมา ?มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่??ยังคงยืนหยัดที่จะทำงานเจาะลึกในกลุ่มเด็กและเยาวชน?โดยเน้นแนวทางการรณรงค์ต่อสาธารณชนเช่นเดิม?ขณะเดียวกันก็วางแผนเสริมสื่อเฉพาะ?ที่ทำให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น?โดยเน้นทั้งในแง่ของความหลากหลาย?และมีปริมาณมากเพียงพอ?ภายใต้กระบวนการผลิตสื่อที่มีขั้นตอนการวิเคราะห์วิจัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริงรวมอยู่ด้วย
??? โครงการที่กำลังคืบหน้า จะได้รับการสานต่อ และโครงงานสร้างสรรค์อีกมาก มีโอกาสที่จะดำเนินการให้เป็นจริงได้?หากไร้เสียซึ่ง??แรงใจ??และการสนับสนุนจากทุกส่วนของสังคม?งานรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ก็คงไม่มีวันได้ถือกำเนิดเติบโต และดำรงอยู่ได้ในทศวรรษที่สองและต่อๆ?ไป
??? และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในปี พ.ศ.2544 รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 ซึ่งเงินทุนของ สสส. มาจากร้อยละ 2 ของภาษีสุราและบุหรี่ ที่รัฐเก็บได้ในแต่ละปี ซึ่ง สสส. มีหน้าที่ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และให้ทุนแก่หน่วยงานต่างๆ ในสังคม ให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้บรรลุผลในการลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร?ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดี ที่มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จะมีส่วนในการนำงบประมาณนี้มาพัฒนางานรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ประเด็นสำคัญในการทำงาน
??? การรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

ความเชี่ยวชาญ
??? การจัดกิจกรรมรณรงค์ในประเด็นที่สร้างกระแส? ,? การจัดทำสื่อรณรงค์? ,? การสร้างเครือข่าย

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วย
??? กระทรวงสาธารณสุข,?สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, โรงเรียน, โรงพยาบาล,?สำนักงาน, ครอบครัว, เยาวชน, บุคคลทั่วไป? และสื่อมวลชน

งานที่ดำเนินการ
??? 1. โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง
??? ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ:? เมษายน?? 2549 -? ธันวาคม 2549
??? 2.?แผนงานเครือข่ายเพื่อสังคมปลอดบุหรี่
??? ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ:? กรกฎาคม?? 2549? -?? มิถุนายน? 2551

แหล่งทุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลงานที่ภาคภูมิใจ (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว)

  • โครงการบ้านปลอดบุหรี่? เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้พ่อ-แม่? และคนในครอบครัวตระหนักถึง? อันตรายของควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของลูก
  • โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง? เป็นโครงการที่รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลของการได้รับควันบุหรี่มือสอง? และเป็นการรักษาสิทธิของตนเองจากการที่ได้รับควันบุหรี่?

สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการทำงานการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่กับเครือข่าย
  • การแก้ไขปัญหา? และอุปสรรคในการทำงานร่วมกับเครือข่าย
  • การได้รับการสนับสนุนในการประสานงานด้านต่าง ๆ? กับเครือข่าย

ภาพถ่ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร

?

กิจกรรมบ้านปลอดบุหรี่?
3? ธันวาคม? 2548? ณ? สวนสันติชัยปราการ


?

กิจกรรมดับบุหรี่...จุดเทียนชัยถวายในหลวง?
30? พฤษภาคม? 2549? ณ? ถนนข้าวสาร


?

กิจกรรม? Road? Show? โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง
งานครบรอบ 4 ปี ทีวีบูรพา? 15 ? 16 กรกฎาคม 2549? ณ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี

การติดต่อ

??เลขที่?36/2?ซอยประดิพัทธ์?10
ถนน?? ประดิพัทธ์ แขวงตลิ่งชัน?เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ?รหัสไปรษณีย์?10400

??0-2278-1828

??0-2278-1830

เว็บไซต์??www.ashthailand.or.th, www.smokefreezone.or.th

??

ผู้ประสานงานองค์กร

(1) นางสาว ชวาลา??ภวภูตานนท์? ณ มหาสารคาม
ตำแหน่ง??ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

??เลขที่?36/2?ซอยประดิพัทธ์?10
ถนน?? ประดิพัทธ์ แขวงตลิ่งชัน?เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ?รหัสไปรษณีย์?10400

??0-2278-1828

?0-1458-5877

?0-2278-1830

เว็บไซต์??www.ashthailand.or.th, www.smokefreezone.or.th

??

(2) นางสาว?วัลภา?แก้วศรี
ตำแหน่ง??ผู้ประสานงานโครงการฝ่ายประชาสัมพันธ์

??เลขที่?36/2?ซอยประดิพัทธ์?10
ถนน?? ประดิพัทธ์ แขวงตลิ่งชัน?เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ?รหัสไปรษณีย์?10400

??0-2278-1828

?0-9160-7629

?0-2278-1830

เว็บไซต์??www.ashthailand.or.th, www.smokefreezone.or.th

??

เอกสารเผยแพร่?

1. ผลงานทางวิชาการ
1.1?? ผลงานวิจัย
1.2?? หนังสือทางวิชาการ?
??
2. เอกสารหรือสื่อเผยแพร่อื่น ๆ
2.1 หนังสือ

2.1.1 เรื่อง 50? คำถามเกี่ยวกับบุหรี่และสุขภาพ
2.1.2 เรื่อง ควันบุหรี่มือสอง? ภัยจากบุหรี่ที่เราไม่ได้สูบ
2.1.3 เรื่อง บุหรี่? จิ๋วแต่เจ็บป่วย
2.1.4 เรื่อง คุณทำได้
2.2?จุลสาร/วารสาร
2.2.1? วารสาร? Smart
2.3 แผ่นพับ
???2.3.1 เรื่อง ควันบุหรี่มือสอง
???2.3.2 เรื่อง? 10? เคล็ดลับในการเลิกสูบบุหรี่
???2.3.3 เรื่อง? โรคหลอดเลือดหัวใจ
???2.3.4 เรื่อง? โรคจากการสูบบุหรี่
???2.3.5 เรื่อง? 10 ไขข้อข้องใจ
???2.3.6 เรื่อง? 7 วันก่อนบอกลาบุหรี่
???2.3.7 เรื่อง? เหตุผลที่ควรเลิกสูบบุหรี่
???2.3.8? เรื่อง? บ้านปลอดบุหรี่
2.4 วีซีดี?
?? 2.4.1 CD? Powerpoint? เรื่อง? พิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่
?? 2.4.2 CD รวมสปอตวิทยุ? รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
?? 2.4.3 CD รวมสปอตโทรทัศน์? รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
?? 2.4.4 CD เรื่อง? ความลับ? ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่
2.5? โปสเตอร์
?? 2.5.1 เหม็น...อันตราย
?? 2.5.2 ที่ไหนบ้างต้องปลอดบุหรี่
?? 2.5.3 ขอบคุณที่ไม่สูบบุหรี่
?? 2.5.4 กรรไกรตัดบุหรี่
???2.5.5 แก่ก่อนวัยชาย
???2.5.6 แก่ก่อนวัยหญิง
???2.5.7 10 เคล็ดลับในการเลิกสูบบุหรี่
???2.5.8 กูเลิกบุหรี่แล้ว
???2.5.9 บุหรี่กับโรคในช่องปาก
???2.5.10 โรคหัวใจ
???2.5.11 โรคมะเร็งปอด
???2.5.12 โรคมะเร็งกล่องเสียง
???2.5.13 โรคถุงลมโป่งพอง
???2.5.14 สารพิษในบุหรี่
???2.5.15 สูบบุหรี่มือสอง
2.6? เอกสาร
???2.6.1 สถิติสำคัญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่
???2.6.2 วัยรุ่นสูบบุหรี่ : ปัญหาและแนวทางแก้ไข
???2.6.3 โรงพยาบาลปลอดบุหรี่
???2.6.4 โรงเรียนอนุบาลปลอดบุหรี่
???2.6.5 โรงเรียนปลอดบุหรี่
???2.6.6 สำนักงานปลอดบุหรี่
???2.6.7 วัดปลอดบุหรี่
???2.6.8 ทำไมต้องปลอดบุหรี่
2.7? สติ๊กเกอร์
???2.7.1? ควันบุหรี่ทำร้ายคนใกล้ชิด
???2.7.2 บ้านปลอดบุหรี่
???2.7.3 เขตปลอดบุหรี่
???2.7.4 ขอบคุณที่ไม่สูบบุหรี่
???2.7.5 SMOKE? FREE? ZONE
???2.7.6 CARE? FOR? KIDE
???2.7.7 ร้านอาหารปลอดบุหรี่

วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล
1 กันยายน 2549