Accessibility help

เมนูหลัก

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก


??ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก

ประเภทองค์กร?หน่วยงานราชการ ในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

ปรัชญา แนวคิด ?
?บ้านกาญจนาภิเษก?ไม่ใช่?คุก
?เยาวชน ไม่ใช่?นักโทษ
?เจ้าหน้าที่?ไม่ใช่?ผู้คุม
?แต่บ้านกาญจนาภิเษกคือ บ้านทดแทนชั่วคราวของวัยรุ่นที่ก้าวพลาด ก้าวผิดจังหวะ

วัตถุประสงค์
-?ให้การดูแล แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและศาลมีคำสั่งให้ฝึกอบรม พร้อมจำกัดอิสรภาพ
-?แสวงหาเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อคืนเด็กและเยาวชนกลับสู่ครอบครัว สู่สังคมโดยบอบช้ำน้อยที่สุด
-?ลดปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ
-?เป็นโครงการนำร่อง ?ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน? ในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะไม่มีกำแพง/ประตู

วันเดือนปีที่ก่อตั้ง เปิดทำการอย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2547

ความเป็นมา
?? จากแนวคิดที่ต้องการให้สถานพินิจสามารถบำบัดฟื้นฟูเยาวชนได้อย่างมีคุณภาพและคืนคนดีกลับสู่สังคม แทนที่จะเป็นสถานบ่มเพาะเด็กที่ทำผิดให้กลายเป็น ?ว่าที่อาชญากรเด็ก? คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร อดีตผู้พิพากษาสมทบได้ชัดชวนบุคคลที่สนใจปัญหาเกี่ยวกับเด็ก ประกอบด้วยนายวิชา มหาคุณ รองอธิบดีศาลเด็กและเยาวชน นางปวีณา หงสกุล นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์? เข้าไปเยี่ยมสถานฝึกอบรมเด็กและเยาวชนหลายแห่ง พบว่าแต่ละแห่งมีความแออัด ขาดแคลน เต็มไปด้วยความรุนแรงและอันตราย คุณหญิงจันทนี ซึ่งได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเป็นอาสาสมัครในสถานพินิจฯ ประเทศสหรัฐอเมริกา และศึกษางานศาลเยาวชนและครอบครัวจากประเทศอังกฤษ เยอรมัน และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย จึงระดมความคิดร่วมกับนายเริงธรรม ลัดพลี อธิบดีศาลเด็กและเยาวชน นายวิชา มหาคุณ นางดวงมาลย์ ศิลปอาชา รองอธิบดีฯ พร้อมกับคณะผู้พิพากษาสมทบ และริเริ่มก่อสร้างสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในมุมมองใหม่ที่เป็นโครงการแห่งการเรียนรู้ ไม่มีกำแพงสูง สร้างความรู้สึกไว้วางใจแทนที่จะเป็นบรรยากาศของการกักขังจองจำ
??
ในการดำเนินงาน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสมัย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย มีบุคคล มูลนิธิ องค์กรเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และองค์กรธุรกิจต่างๆ สนับสนุนเงินทุน การก่อสร้าง มีการออกแบบที่สอดคล้องกับแนวคิดทำให้สถานพินิจแห่งใหม่มีรูปแบบที่อบอุ่น โปร่งสบายเหมือนบ้าน และสามารถรองรับเยาวชนได้ถึง 400 คนโดยไม่เกิดความแออัด
??
ในปี พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามโครงการนี้ว่า บ้านกาญจนาภิเษก โดยมีผู้บริหารคนแรกคือ นางทิชา ณ นคร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

ประเด็นสำคัญในการทำงาน
?? ทำให้เด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดจนถึงขั้นถูกพิพากษา ?เห็นคุณค่า? และความสามารถของตนเอง จนถึงขั้นที่อยากเปลี่ยนแปลงตนเองเพราะปรารถนาจะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะอำนาจของคุกหรือผู้ควบคุม

ความเชี่ยวชาญ
1.?การใช้ข่าวเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด
2.?การเสริมพลังอำนาจให้กับเด็กและเยาวชนที่เคยอ่อนแอและรู้สึกไร้ค่า
3.?การไม่ใช้ความรุนแรงภายใต้ ?ภาวะวิสัย? ที่(เคย)รุนแรง

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงาน
??นักเรียน นักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็ก/เยาวชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานพินิจฯ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน

งานที่ดำเนินการ
-?ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่ไม่มีกำแพง/ประตู ทำให้เด็กและเยาวชนไม่หนี
-?งานอาสาสมัครในมิติของการเพิ่มคุณค่าและแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงบวก
-?การนำกระบวนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กรโดยเฉพาะในบริบทที่เด็กและเยาวชนมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง

แหล่งทุน
-?งบประมาณกระทรวงยุติธรรม
-?องค์การยูนิเซฟ
-?มูลนิธิ ชัย โสภณพานิช
-?มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
-?มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

ผลงานที่ภาคภูมิใจ
?? ทุกเรื่องที่ได้ลงมือทำ

สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน
??? มนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ แม้จะผ่านความผิดพลาดมาอย่างเป็นที่ประจักษ์

การติดต่อ

?เลขที่ 103 หมู่ที่ 2
ต.คลองโยง?อ.พุทธมณฑล
จ.นครปฐม 73170

?034-246252-4

?034-246254

?

ผู้ประสานงานในองค์กร

(1) นางทิชา ณ นคร
ตำแหน่ง?ผู้อำนวยการ

?เลขที่ 103 หมู่ที่ 2
ต.คลองโยง?อ.พุทธมณฑล
จ.นครปฐม 73170

?034-246252-4

?089-4524717

?034-246254

???

(2) นางบุษกร พลดิศัย
ตำแหน่ง?นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ

?เลขที่ 103 หมู่ที่ 2
ต.คลองโยง?อ.พุทธมณฑล
จ.นครปฐม 73170

?034-246252-4

?086-0335024

?034-246254

??

วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล:
?1 สิงหาคม 2549

 

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนี้

ทิชา ณ นคร