Accessibility help

เมนูหลัก

หลากหลายอารมณ์ของโรคซึมเศร้า

หลากหลายอารมณ์ของโรคซึมเศร้า

         
          โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง 
          ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน
          โรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป

อารมณ์ที่หลากหลายของโรคซึมเศร้า ได้แก่

          1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major depression)
 ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมากจนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้ มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย

          2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia)
 ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่าง ต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือจะมีอาการอย่างน้อย 2 ปีแต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ปกติสลับไปด้วย
   
          3.โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder)
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ชนิดนี้บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกันหรือ ต่างขั้วกัน โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการ ตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้

รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า  ธรรมชาติของโรคซึมเศร้าจะมีอาการเด่นชัด 2 ประการ นั่นคือ
    1. หมดความสนใจในกิจกรรมประจำวัน ไม่ยินดี ยินร้ายกับกิจกรรมที่เคยทำอย่างสนุกสนาน
    2. มีอารมณ์เซ็ง เศร้าซึม รู้สึกเศร้า หมดที่พึ่ง หมดหวังและร้องไห้อย่างมากมาย
 

หรือมีอาการดังกล่าวนี้ร่วมด้วยทุกวันหรือแทบทุกวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

    1.มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่นนอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับ
    2.น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว
    3.หงุดหงิด โมโหง่าย ขี้รำคาญหรือทำอะไรเชื่องช้าลง
    4.อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีพลังในการทำงาน
    5.ไม่มั่นใจในตนเอง 
    6.คิดถึงแต่เรื่องตาย 
    7.ขาดสมาธิในการคิดจนตัดสินใจอะไรไม่ได้หรือมีปัญหาเรื่องความจำ
    8.สูญเสียความรู้สึกทางเพศทั้งๆที่เคยทำได้ดีมาก่อน
 

เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว จะบำบัดรักษาอย่างไร

          1. ระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาบรรเทาอาการเศร้าจนรู้สึกดีขึ้น และทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง 
          2. เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการกำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว
 

           เมื่อได้รู้จักโรคซึมเศร้ากันแล้ว จะเห็นว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นแค่อารมณ์เซ็ง เศร้าเท่านั้น แต่หากเป็นโรคที่อาจส่งผลต่อตนเองและ ครอบครัว และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่บำบัดรักษา อาจนำมาสู่ปัญหาการทำงานและการดำเนินชีวิต และบางรายอาจตัดสินใจปลิดชีวิตตนเองได้ ดังนั้นหากพบหรือสงสัยว่าตนเองและคนใกล้ตัวของคุณป่วยด้วยโรคซึมเศร้า อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรพามาปรึกษาแพทย์ เพราะหากได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีที่เหมาะสม คุณและคนใกล้ตัวก็สามารถจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป

ที่มา http://blog.spu.ac.th/ploy/2008/06/30/entry-2