Accessibility help

เมนูหลัก

การแจ้งการตาย

การแจ้งการตาย

 
หน้าที่ของผู้แจ้งการตาย
           
       1. เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย  ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ
       2. เมื่อมีคนตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่ง ท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจก็ได้

สถานที่รับแจ้งการตายและผู้มีหน้าที่รับแจ้งการตาย

       1.   กรณีมีคนตายนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง คือ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้น
       2.  กรณีมีคนตายในเขตเทศบาล ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
       3.  กรณีมีคนตายในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตนั้น

การแจ้งการตาย

       1.   แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง (ถ้ามี)
       2.   แจ้ง วัน เดือน ปี และสถานที่ตายพร้อมสาเหตุการตาย ถ้ามีหนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย
และถ้าทราบชื่อสกุลของบิดามารดาของผู้ตาย ให้แจ้งต่อนายทะเบียนด้วย
       3.  แจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับศพของผู้ตายด้วย จะเก็บ ฝัง เผา ทำลาย หรือย้ายศพ ที่ไหน เมื่อไร แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวทีนำไปแสดง

วิธีการรับแจ้งการตาย

       เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจากผู้มีหน้าที่แล้ว จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร หลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง
จะลงรายการต่าง ๆ ในมรณบัตร และให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อในมรณบัตร พร้อมมอบมรณบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน

       การแจ้งการตายเกินกำหนดเวลา  หมายถึง มีกรณีคนตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ

วิธีการรับแจ้งการตายเกินกำหนดเวลา

       1.   เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง แล้วดำเนินการเปรียบเทียบคดีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด
       2.  สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคลเพื่อให้ทราบถึง วัน เดือน ปี ที่ตาย สถานที่ตายและผู้รู้เห็นการตาย ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการตายภายในเวลาที่กำหนด
       3.  รวบรวมหลักฐานและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จะสั่งอนุญาตให้แจ้งได้ และดำเนินการต่อไป

กรณีมีการตายแต่ยังไม่พบศพ

       ให้เจ้าบ้านหรือผุ้ที่ไปกับผู้ตายแจ้งต่อนายทะเบียนหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อดำเนินการต่อไป

       หมายเหตุ   การแจ้งการตายไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

ที่มา http://www.wangpaicity.com/cont_method/birth.html